History of the Buddha, Artifact & Antique, ประวัติองค์พระพุทธรูป, บทสวดมนต์, คำสอนทางพุทธศาสนา

Sukhothai-Period Images of Buddha

.
The beautiful Buddha images in Sukhothai art are those showing the Lord Buddha after he attained enlightenment. This is when all the muscles showed signs of relaxation and he reached the state of genuine serenity which indicates an inner dimension that is total and whole, a light smile seemed to be lighting up his face. After the enlightenment, the Lord Buddha entered more into the stage of nirvana than that of the world. Thai artisans can thus build these images as if they were made in heaven, be it the sitting, walking or reclining position. Each carries the gentle features in such a way that it gives one an impression of floating in heaven.

The method of building Buddha images is complex. Being beautiful in artistic sense alone does not suffice since the images built on the basis of ideal must also unveil the heart of teachings of Buddhism. It may be said, therefore, that artists draw their inspiration in the creation from Buddhist teachings. But it by no means suggests that they are the replica of the Lord Buddha himself. To build a Buddha image, the artisans have to build an ideal human body and add to it features that have nothing to do with worldly elements.

.
.

.
.

.
Building walking Buddha images is particularly popular among Sukhothai artisans. indeed, they could really build pieces of fine art. By concentrating on this style of beautiful images can really give one the impression that they move quietly forward. The fingers symbolize the walking as the Lord Buddha goes out to proclaim his religion. The torso too carries that graceful curve as he is turning towards a certain direction as monks normally do, his arms therefore fall to the side in a curving manner. The head looks like a budding lotus, the neck that drops vertically rests proportionately on the shoulder. The proportionate features and fine details in the Buddha images help distinguish an overall proportionate composition, for instance, the refined outer lines of the ears which roll outwardly and the hands that look more heavenly than human-like. The reason for this outstanding result rests solely on the artisans dedication.

Some of the Buddha images from the Sukhothai school are so beautiful that some of the female features have been understood to be included. Few people realize that they are the result of the deep respect ancient Thai artisans hold for the Lord Buddha and they are created based on the imagery at his enlightenment which freed him from worldly materials, hence he was no longer restricted by gender features. As a result, Buddha images are more heavenly than worldly.

Professor Slipa Bhirasri

.
.

พระพุทธรูปสุโขทัย

พระพุทธรูปที่สวยงามในศิลปะแบบสุโขทัย เป็นรูปพระพุทธองค์เมื่อเสด็จตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อเป็นดังนั้นระบบกล้ามเนื้อต่างๆ ก็จะผ่อนคลาย พระองค์จะทรงอยู่ในความสงบนิ่งอย่างแท้จริง  พระพักตร์สงบมีรอยเผยอยิ้มเล็กน้อยแสดงถึงปิติอันเกิดขึ้นภายในอย่างสมบูรณ์ ภายหลังการตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ก็เสด็จอยู่ในห้วงแห่งพระนิพพานมากกว่าห้วงแห่งโลก  และช่างไทยก็จะประิดิษฐ์พระพุทธรูปอย่างชนิดที่เรียกว่า สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ขึ้นตามความจริง ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งลีลา หรือไสยาศน์ ก็จะมีลักษณะอันละมุนละไม และลอยดุจอยู่ในสรวงสวรรค์นี้ผสมอยู่ด้วย

วิธีการในการสร้างพระพุทธรูปนี้ยุ่งยาก ลักษณะความสวยงามทางศิลปะอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ เพราะเหตุว่ารูปที่ทำขึ้นตามอุดมคตินั้นต้องทำให้เข้าถึงแก่นของคำสั่งสอนของพุทธศาสนาด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าคำสั่งสอนของพุทธศาสนาที่ดลบันดาลให้เกิดมีรูปขึ้น ใช่ว่ารูปนั้นแสดงถึงร่างอันแท้จริงของพระพุทธองค์ ดังนั้นในการประดิษฐ์พระพุทธรูป ช่างจึงต้องทำรูปร่างมนุษย์ขึ้นตามอุดมคติอันสูงส่ง ในขณะเดียวกันก็ต้องให้มีลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของโลกมนุษย์อีกต่อไปผสมอยู่ด้วย

การประดิษฐ์พระพุทธรูปลีลานั้นเป็นที่นิยมกันเป็นพิเศษสำหรับช่างสมัยสุโขทัย ตามความเป็นจริงแล้วสำหรับเรื่องนี้เขาก็สามารถผลิตศิลปวัตถุชิ้นพิเศษขึ้นมาได้จริงๆ ในการมองดูพระพุทธรูปที่สวยงามแบบนี้รูปหนึ่ง  เราจะรู้สึกว่ารูปนั้นกำลังเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างแช่มช้อย มีนิ้วพระหัตถ์ทำท่าอย่างสุภาพ เป็นเครื่องหมายแสดงถึงพระธรรมจักร คือ เป็นอิริยาบถพระพุทธองค์ขณะกำลังทรงดำเนินไปประกาศพระศาสนาของพระองค์ พระวรกายมีทรวดทรงอ่อนช้อยอย่างสวยงาม เหตุว่าพระวรองค์กำลัีงเบือนไปด้านหนึ่ง ตามลักษณะการเคลื่อนที่ของพระชงฆ์นั้น พระกรก็จะห้อยลงมาอย่างได้จังหวะตามลักษณะที่อ่อนโค้ง พระเศียรมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม และพระศอซึ่งผายออกทางเบื้องล่างก็ตั้งอยู่บนพระอังสาอย่างได้สัดส่วน ลักษณะรายละเอียดแต่ละอย่างของพระพุทธรูปเป็นต้นว่าเส้นนอกอันละเอียดอ่อนของใบพระกรรณซึ่งม้วนออกข้างนอกเล็กน้อย ก็ดูเหมือนจะย้ำถึงความได้สัดส่วนขององค์ประกอบทั้งหมดให้เด่นยิ่งขึ้นไปอีก พระหัตถ์ดูเป็นของทิพย์มากกว่าที่จะเป็นของมนุษย์ ทั้งนี้ เพราะเหตุว่าได้ทำขึ้นอย่างดีนั้นเอง

พระพุทธรูปแบบสุโขทัยบางรูปสวยงามมาก จนกระทั้งดูคล้ายกับว่ามีลักษณะของสตรีเพศปนอยู่ มีบุคคลเพียงจำนวนน้อยที่ประจักษ์ว่า ลักษณะเช่นนี้เกิดจากความเคารพนับถือย่างลึกซึ้ง ที่ช่างไทยโบราณมีต่อพระพุทธองค์ และเกิดจากการทำรูปภาพขึ้นตามมโนภาพดังที่กล่าวมาแล้วเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็เป็นของโลกที่ไม่มีตัวตนซึ่งรูปลักษณะของเพศไม่มีอยู่อีกต่อไป ดังนั้นพระพุทธรูปจึงเป็นของสวรรค์ยิ่งกว่าของโลกมนุษย์

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี
ที่มา : หนังสือวิศุทธศิลป์

ใส่ความเห็น